เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 6. ปาสราสิสูตร

เพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน' แล้วดำริต่อไปว่า 'บัดนี้
ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ' ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว
จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี

ทรงพบอุปกาชีวก

[285] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกชื่ออุปกะได้พบเราผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง
แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า 'อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก
ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร'
เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า
'เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง1 รู้ธรรมทั้งปวง2
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง3 ละธรรมทั้งปวง4ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
เราไม่มีอาจารย5 เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 (ม.มู.อ. 2/285/97, วิ.อ. 3/11/16)
2 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4 (ม.มู.อ. 2/285/97, วิ.อ. 3/11/16)
3 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 (ม.มู.อ. 2/285/97, วิ.อ. 3/11/16)
4 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 (ม.มู.อ. 2/285/97, วิ.อ. 3/11/16)
5 เราไม่มีอาจารย์ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. 2/285/97, วิ.อ. 3/11/17)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :310 }